17
Sep2023

สรุปคำว่า ปังชา ทุกคนสามารถใช้ได้จริงหรือไม่ กรมทรัพย์สินฯ ให้ความเห็นถูกไหม ?

ปังชา นั้นเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงหรือไม่ นอกจากจะต้องพิจารณาว่าคำดังกล่าวมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใช้คำดังกล่าวในประเทศไทยด้วยว่าคำดังกล่าวถูกนำมาใช้ในความหมายหรือในลักษณะใด และต้องพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงจนถึงขนาดทำให้เมื่อสาธารณชนเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วก็จะทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นได้ในทันทีหรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้

กลุ่มคำของเครื่องหมายการค้ามีดังนี้

ก.เครื่องหมายไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ (non -distinctive) คือชื่อที่สื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

หมายถึงชื่อนั้นเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง เราจะจะเรียกว่า เครื่องหมายไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ (non -distinctive) ที่ทุกคนใช้ได้ จะมีใครคนใดคนนึงผูกขาดการใช้คำนั้นไม่ได้ เช่น ขนมปังใช้กับธุรกิจขนมปัง หรือ ชา ใช้กับธุรกิจขาย เครื่องดื่มชา  เป็นต้น ข้อสังเกตุของคำประเภทนี้คือ ฟังแล้วจะต้องเข้าใจและสื่อความหมายไปถึงสินค้าหรือบริการนั้นได้อย่างชัดเจนในทันที

ข.เครื่องหมายเชิงแนะนำ (Suggestive Mark) คือชื่อที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง (distinctive)

หมายถึงชื่อที่มีลักษณะเป็นเพียงคำหรือเชิงแนะนำ (Suggestive) ที่ชี้ชวนหรือแนะนำให้ทราบเป็นเบื้องต้นว่าเป็นสินค้าเกี่ยวกับอะไร โดยไม่ได้อธิบายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง และ ผู้ใช้สินค้าจะต้องใช้ความคิดและจินตนาการหรือแปลความหมายที่ซ้ำซ้อนกันนั้นอีกชั้นหนึ่งก่อนจึงจะรู้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด ชื่อลักษณะนี้ถือว่าใครคนใดคนนึงสามารถผูกขาดการใช้คำนั้นได้ เช่น  DERMATIX

ค.เครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ (distinctive) คือชื่อที่ไม่สื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าเลย ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่และไม่พบในพจนานุกรม เช่น pepsi, starbuck  ชื่อลักษณะนี้ถือว่าสามารถผูกขาดการใช้คำนั้นได้ดีมาก

คำว่า ปังชา เข้าเงื่อนไขข้อไหน !!!!!!!!!!!!!!!!

คำว่า ขนมปัง  หรือ ชานม ถือว่าเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงแบบชัดเจน

ถ้านำคำว่า ปังชา มาผสมกัน ก็ถือว่าเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง เช่นกัน ทำให้ฟังแล้วเข้าใจและสื่อความหมายไปถึงสินค้าหรือบริการนั้นได้อย่างชัดเจนในทันที คือ ขนมปังผสมชา หรือ ชาผสมขนมปัง แสดงว่า จะมีใครคนใดคนนึงผูกขาดการใช้คำว่า ปังชา ไม่ได้

ชื่อที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงสามารถนำมาฟ้องร้องได้หรือไม่ พิจารณาดังนี้

ขนมปัง  หรือ ชานม :  การใช้คำว่า ขนมปัง  หรือ ชานม  เป็นการใช้ในลักษณะคำเรียกสินค้า ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดสินค้าอย่างแน่นอน การพิสูจน์ความสับสนหลงผิดเป็นไปได้ยากมาก  กรณีนี้จะไม่มีปัญหาเรื่องความเสียหาย

ปังชา : เป็นคำผสมลักษณะหนึ่ง หากการใช้คำว่า ปังชา นั้นทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดสินค้า และ ทำให้เกิดความเสียหาย สามารถฟ้องร้องได้ แม้คำนั้นจะเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงก็ตาม  (กรณีตามข้อเท็จจริงยังไม่เกิดความสับสนจนถึงขนาดทำให้เกิดความเสียหาย และ การกระทำยังไม่ถึงขนาดมีเจตนาไม่สุจริต)

Starbucks : เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ (distinctive) กรณีนี้จะไม่พิจารณาเรื่องความสับสนหลงผิดเลย เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตและเป็นการลดทอนคุณค่าเครื่องหมายการค้า เช่น คดีของสตาร์บัคส์ VS สตาร์บัง กรณีนี้สามารถนำมาฟ้องร้องได้ แม้ความสับสนหลงผิดจะไม่เกิดขึ้นเลย อ่านเพิ่มเติมตามลิ้งด้านล่าง

การลดทอนคุณค่าเครื่องหมายการค้าคืออะไร

 

กล่าวโดยสรุป คำว่า ปังชา  เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง ทุกคนสามารถนำมาใช้ได้ แต่หากการใช้ของบุคคลอื่นนั้นทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต พยายามแสวงหาประโยชน์จากความมีชื่อเสียงนั้น และส่งผลให้เกิดความเสียหายสามารถฟ้องร้องได้

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2563

การที่จะพิจารณาว่าคำในภาษาต่างประเทศเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอันจะทำให้ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) นั้น นอกจากจะต้องพิจารณาว่าคำดังกล่าวมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใช้คำดังกล่าวในประเทศไทยด้วยว่าคำดังกล่าวถูกนำมาใช้ในความหมายหรือในลักษณะใด และต้องพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงจนถึงขนาดทำให้เมื่อสาธารณชนเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วก็จะทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นได้ในทันทีหรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ ในขณะที่เครื่องหมายการค้าที่มีความหมายเป็นการบรรยายถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นทางอ้อม ผู้ใช้สินค้าจะต้องใช้ความคิดและจินตนาการหรือแปลความหมายที่ซ้ำซ้อนกันนั้นอีกชั้นหนึ่งก่อนจึงจะรู้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด หาใช่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงไม่

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

 

[/vc_column][/vc_row]

แอดไลน์ สรุปคำว่า ปังชา ทุกคนสามารถใช้ได้จริงหรือไม่ กรมทรัพย์สินฯ ให้ความเห็นถูกไหม ?
17
Sep2023

สรุปคำว่า ปังชา ทุกคนสามารถใช้ได้จริงหรือไม่ กรมทรัพย์สินฯ ให้ความเห็นถูกไหม ?

ปังชา นั้นเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงหรือไม่ นอกจากจะต้องพิจารณาว่าคำดังกล่าวมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใช้คำดังกล่าวในประเทศไทยด้วยว่าคำดังกล่าวถูกนำมาใช้ในความหมายหรือในลักษณะใด และต้องพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงจนถึงขนาดทำให้เมื่อสาธารณชนเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วก็จะทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นได้ในทันทีหรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้

กลุ่มคำของเครื่องหมายการค้ามีดังนี้

ก.เครื่องหมายไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ (non -distinctive) คือชื่อที่สื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

หมายถึงชื่อนั้นเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง เราจะจะเรียกว่า เครื่องหมายไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ (non -distinctive) ที่ทุกคนใช้ได้ จะมีใครคนใดคนนึงผูกขาดการใช้คำนั้นไม่ได้ เช่น ขนมปังใช้กับธุรกิจขนมปัง หรือ ชา ใช้กับธุรกิจขาย เครื่องดื่มชา  เป็นต้น ข้อสังเกตุของคำประเภทนี้คือ ฟังแล้วจะต้องเข้าใจและสื่อความหมายไปถึงสินค้าหรือบริการนั้นได้อย่างชัดเจนในทันที

ข.เครื่องหมายเชิงแนะนำ (Suggestive Mark) คือชื่อที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง (distinctive)

หมายถึงชื่อที่มีลักษณะเป็นเพียงคำหรือเชิงแนะนำ (Suggestive) ที่ชี้ชวนหรือแนะนำให้ทราบเป็นเบื้องต้นว่าเป็นสินค้าเกี่ยวกับอะไร โดยไม่ได้อธิบายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง และ ผู้ใช้สินค้าจะต้องใช้ความคิดและจินตนาการหรือแปลความหมายที่ซ้ำซ้อนกันนั้นอีกชั้นหนึ่งก่อนจึงจะรู้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด ชื่อลักษณะนี้ถือว่าใครคนใดคนนึงสามารถผูกขาดการใช้คำนั้นได้ เช่น  DERMATIX

ค.เครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ (distinctive) คือชื่อที่ไม่สื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าเลย ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่และไม่พบในพจนานุกรม เช่น pepsi, starbuck  ชื่อลักษณะนี้ถือว่าสามารถผูกขาดการใช้คำนั้นได้ดีมาก

คำว่า ปังชา เข้าเงื่อนไขข้อไหน !!!!!!!!!!!!!!!!

คำว่า ขนมปัง  หรือ ชานม ถือว่าเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงแบบชัดเจน

ถ้านำคำว่า ปังชา มาผสมกัน ก็ถือว่าเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง เช่นกัน ทำให้ฟังแล้วเข้าใจและสื่อความหมายไปถึงสินค้าหรือบริการนั้นได้อย่างชัดเจนในทันที คือ ขนมปังผสมชา หรือ ชาผสมขนมปัง แสดงว่า จะมีใครคนใดคนนึงผูกขาดการใช้คำว่า ปังชา ไม่ได้

ชื่อที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงสามารถนำมาฟ้องร้องได้หรือไม่ พิจารณาดังนี้

ขนมปัง  หรือ ชานม :  การใช้คำว่า ขนมปัง  หรือ ชานม  เป็นการใช้ในลักษณะคำเรียกสินค้า ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดสินค้าอย่างแน่นอน การพิสูจน์ความสับสนหลงผิดเป็นไปได้ยากมาก  กรณีนี้จะไม่มีปัญหาเรื่องความเสียหาย

ปังชา : เป็นคำผสมลักษณะหนึ่ง หากการใช้คำว่า ปังชา นั้นทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดสินค้า และ ทำให้เกิดความเสียหาย สามารถฟ้องร้องได้ แม้คำนั้นจะเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงก็ตาม  (กรณีตามข้อเท็จจริงยังไม่เกิดความสับสนจนถึงขนาดทำให้เกิดความเสียหาย และ การกระทำยังไม่ถึงขนาดมีเจตนาไม่สุจริต)

Starbucks : เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ (distinctive) กรณีนี้จะไม่พิจารณาเรื่องความสับสนหลงผิดเลย เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตและเป็นการลดทอนคุณค่าเครื่องหมายการค้า เช่น คดีของสตาร์บัคส์ VS สตาร์บัง กรณีนี้สามารถนำมาฟ้องร้องได้ แม้ความสับสนหลงผิดจะไม่เกิดขึ้นเลย อ่านเพิ่มเติมตามลิ้งด้านล่าง

การลดทอนคุณค่าเครื่องหมายการค้าคืออะไร

 

กล่าวโดยสรุป คำว่า ปังชา  เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง ทุกคนสามารถนำมาใช้ได้ แต่หากการใช้ของบุคคลอื่นนั้นทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต พยายามแสวงหาประโยชน์จากความมีชื่อเสียงนั้น และส่งผลให้เกิดความเสียหายสามารถฟ้องร้องได้

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2563

การที่จะพิจารณาว่าคำในภาษาต่างประเทศเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอันจะทำให้ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) นั้น นอกจากจะต้องพิจารณาว่าคำดังกล่าวมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใช้คำดังกล่าวในประเทศไทยด้วยว่าคำดังกล่าวถูกนำมาใช้ในความหมายหรือในลักษณะใด และต้องพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงจนถึงขนาดทำให้เมื่อสาธารณชนเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วก็จะทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นได้ในทันทีหรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ ในขณะที่เครื่องหมายการค้าที่มีความหมายเป็นการบรรยายถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นทางอ้อม ผู้ใช้สินค้าจะต้องใช้ความคิดและจินตนาการหรือแปลความหมายที่ซ้ำซ้อนกันนั้นอีกชั้นหนึ่งก่อนจึงจะรู้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด หาใช่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงไม่

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

 

[/vc_column][/vc_row]

แอดไลน์