เครื่องหมายการค้าต้องมีลักษณะ บ่งเฉพาะ เท่านั้นถึงจะได้รับการจดทะเบียน
บ่งเฉพาะ คือความมีเอกลักษณ์พิเศษและไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าถึงชื่อนี้ได้
มาตรา 6 เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
(2) เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ และ
(3) ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียน ไว้แล้ว
มาตรา 7 เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจาก สินค้าอื่น
เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นสาระสำคัญต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ
(๑) ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ และไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
(๒) คำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(๓) กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ หรือตัวหนังสือ ตัวเลข หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น
(๔) ลายมือชื่อของผู้จดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว
(๕) ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้นถ้ามี แล้ว
(๖) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น
ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่มีลักษณะตาม (1) หรือ (2) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือ
โฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ
***********************************
เครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามและไม่สามารถจดทะเบียนได้
ชื่อเครื่องหมายตาม 1.1, 1.2 ก็อาจจะเป็นคำที่พ้องเสียงได้ด้วย เช่น SHA TAI สื่อถึง ชาไทย การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า ชาไทย ผู้ตรวจสอบสามารถมีคำสั่งออกมาไม่ให้จดทะเบียนได้
ชื่อเครื่องหมายตาม 1.1, 1.2 หากมีการผสมคำ แต่คำที่นำมาผสมไม่ใช่สาระสำคัญ เช่น Apple Thai, Super Apple, The Apple, Apple Plus, Apple Restaurant, คำที่นำมาผสมจะไม่ถูกนำเป็นสาระสำคัญในการตรวจสอบ เนื่องจากเป็นคำทั่วไป และ มาเสริมคำว่า Apple ให้โดดเด่นขึ้นไปอีก ดังนั้นจะเหลือแต่คำว่า Apple ที่เป็นสาระสำคัญการจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า Apple
(เว้นแต่ชื่อ/ข้อความตาม 1.1-1.2 ต้องมีคำ หรือ ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบ เช่น ข้อความตาม 1.1-1.2 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิข้อความตาม 1.1-1.2) หรือ เช่น ข้อความตาม 1.1-1.2 + ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญ หากภาพโลโก้ไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิข้อความตาม 1.1-1.2)
1.3 ตัวอักษร 1 ตัว 2 ตัว 3 ตัว ที่ไม่มีความหมาย ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษ เหตุผลที่บังคับให้ประดิษฐ์ตัวอักษรเพราะการจดทะเบียนจะได้ตัวอักษร+ที่มีการประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษ เพราะมิฉะนั้นจะเหมือนว่าเราเอาตัวอักษรโรมันธรรมดามาจดทะเบียน ซึ่งหลักการแนวนี้ใช้กับทุกภาษา
เช่น ตัวอักษรตัวเดียว A ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
เช่น ตัวอักษรสองตัว AF ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
เช่น ตัวอักษรสามตัว AFS ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
(เว้นแต่ตัวอักษรตาม 1.3 หากไม่ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษ ต้องมีคำ หรือ ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบ เช่น ตัวอักษรตาม 1.3 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิตัวอักษรตาม 1.3 หรือ เช่น ตัวอักษรตาม 1.3 + ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญ หากภาพโลโก้ไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิตัวอักษรตาม 1.3
2.เครื่องหมายติดเหมือนหรือคล้าย ต้องครบองค์ประกอบดังนี้
2.1 พ้องเสียง เช่น Manee, Marni, Marnie, MaaNii กลุ่มคำเหล่านี้ถือว่าพ้องเสียง
2.2 พ้องรูป เช่น มีรูปคล้ายคลึงกัน เช่น รูปนก ที่คล้ายๆ กัน
การพ้องเสียงหรือพ้องรูปตาม 2.1 และ 2.2 จะต้องคู่กับ รายการสินค้าที่อยู่จำพวก เดียวกันและคล้ายกันด้วย
เช่น Manee สินค้า เสื้อ และ Marni สินค้า รองเท้า ถือว่า คล้ายกันและจดทะเบียนไม่ผ่าน เนื่องจาก Manee และ Marni พ้องเสียง เสื้อ และ รองเท้า อยู่จำพวก 25 กลุ่ม เสื้อผ้าเหมือนกัน
หาก เช่น Manee สินค้า เสื้อ และ Marni สินค้า ปุ๋ยเคมี แม้จะพ้องเสียงคล้ายกันแต่คนละจำพวกถือว่าจดทะเบียนได้ เนื่องจาก การทำธุรกิจของ Marni สินค้า ปุ๋ยเคมี ไม่กระทบกระเทือนธุรกิจ Manee สินค้า เสื้อ
เครื่องหมายการค้าที่ติดเหมือนคล้ายหรือติดพ้องเสียงกัน เช่น Manee กับ Mani หากนำภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบกับ Mani ก็ถือว่าติดเหมือนคล้ายกัน เพราะ
1.พ้องเสียง
2.พ้องรูป
3.รายการสินค้า/บริการ
คือถือว่าติดเหมือนคล้ายกันเพราะติด 2 ใน 3 คือติดพ้องเสียง+รายการสินค้า/บริการ
สรุป พ้องเสียง พ้องรูป ต้องจับคู่กับ รายการสินค้าที่อยู่จำพวกเดียวกันและคล้ายกันด้วยถึงจะถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นเหมือนหรือคล้ายกัน
2.3 ข้อยกเว้นชื่อพ้องเสียง ที่สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้
เช่น ตัวอักษรตัวเดียว A สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้ แต่ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้แตกต่างกัน
เช่น ตัวอักษรสองตัว AF มีสองแนว คือ สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้แต่ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษร และ บางครั้งก็มีคำสั่งว่าติดเหมือนคล้าย
ถ้าเป็น ตัวอักษรสามตัว AFS แม้จะมีการออกแบบที่แตกต่างกันแต่ก็จดทะเบียนซ้ำกันไม่ได้ เพราะตัวอักษรสามตัวถือว่ามีเอกลักษณ์สูง
3.เครื่องหมายการค้าที่นำภาพที่เป็นเลขาคณิตทั่วไป/หรือภาพเสมือนจริง มาจดทะเบียนใช้กับสินค้าประเภทนั้น และ ภาพนั้นไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.1 ภาพรวงข้าวเสมือนจริง ใช้กับ ข้าว จดทะเบียนไม่ผ่าน
3.2 ภาพรถยนต์เสมือนจริง ใช้กับอะไหล่ น้ำยาขัดรถยนต์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.3 ภาพผลไม้เสมือนจริง ใช้กับน้ำผลไม้ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.4 ภาพสัตว์เสมือนจริง ใช้กับ น้ำยาสระขนสัตว์ อาหารสัตว์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.5 ภาพโทรศัพท์เสมือนจริง ใช้กับ โทรศัพท์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.6 ภาพกุ๊กเสมือนจริง ใช้กับ อาหาร ร้านอาหาร เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.7 รูปหัวใจเลขาคณิต ใช้กับยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
เป็นต้น
(เว้นแต่ภาพตาม 3.1-3.7 ต้องมีคำมาประกอบ เช่น ภาพตาม 3.1-3.7 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิภาพตาม 3.1-3.7)
4.เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนโดยไม่สุจริต
เช่น นำคำว่า Honda หรือ นำเอาเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่ไปจดทะเบียนไว้แล้ว (ลอกมา 100 %) ไปจดทะเบียนในอีกจำพวกหนึ่งที่แตกต่างกัน เช่น นำคำว่า Honda ไปจดทะเบียนใช้กับ ปุ๋ยเคมี ซึ่งไม่กระทบธุรกิจการขายรถยนต์ของ Honda แต่การกระทำนี้ถือว่าไม่สุจริต กฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง หรือ Starbuck กับ Starbung ไม่ได้ทำให้ประชาชนสับสนหลงผิด แต่ถือว่าการกระทำนี้ไม่สุจริต กฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง
4.1 เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย เช่น Honda หากลอกมาทั้งหมดหรือเลียนมา ถือว่าไม่สุจริตและกฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง
4.2 เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีชื่อเสียงแพร่หลาย คือไม่โด่งดัง ต้องลอกมา 100 % เท่านั้น จะถือว่าไม่สุจริตและกฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง
5. เครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อกฎหมาย/ต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียน
5.1 ชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อประเทศ ชื่อจังหวัด ชื่อเมือง (2 แนว แนวที่ 1 มีในเครื่องหมายได้แต่ต้องทำการสละสิทธิ / แนวที่ 2 มีไม่ได้เลย เช่น paris)
5.2 ธงชาติ (มีไม่ได้เด็ดขาด เช่น honda+ธงชาติ จะจดไม่ผ่านต้องตัดออก)
5.3 ชื่อดารา หรือ คนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง (มีไม่ได้เลย)
5.4.ชื่อที่ไม่สุภาพ / ลามก (มีไม่ได้เลย)
5.5 ชื่อที่ไปเกี่ยวข้องกับ ราชวงศ์ หรือ ชื่อทางราชการ องค์กรต่างๆ (มีไม่ได้เลย)
5.6 ชื่อเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) และ เป็นคำประดิษฐ์ เช่น Honda (มีไม่ได้เลย)
เป็นต้น
6. เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) แบ่งดังนี้
6.1 เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) ที่ไม่ใช่คำประดิษฐ์ เช่น Apple(iphone)
สามารถใช้ซ้ำกันได้ แต่ต้องอยู่คนละรายการสินค้า และ ต้องไม่ใช้การลอกแบบมาจดทะเบียน เช่น นำคำว่า apply มาจดทะเบียนใช้กับสินค้า เครื่องดนตรี สามารถยื่นจดทะเบียนได้
6.2 เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) ที่เป็นคำประดิษฐ์ขึ้น ไม่มีในพจนานุกรม เช่น Starbuck, Pepsi
ไม่สามารถใช้ซ้ำกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ในรายการสินค้าไหนก็ตาม เช่น นำคำว่า Pepsi มาจดทะเบียนใช้กับสินค้า เครื่องดนตรี จะไม่สามารถยื่นจดทะเบียนได้ เป็นต้