เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ ตามมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๑๖ คืออะไร
มาตรา ๖ เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ ต้องประกอบด้วยลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ (มาตรา ๗)
(๒) เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ และ สำนักงานคณะกรรมการ
(๓) ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว
มาตรา ๗ เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น
เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ
(๑) ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
(๒) คำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และ ไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(๓) คำที่ประดิษฐ์ขึ้น
(๔) ตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น
(๕) กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ
(๖) ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว
(๗) ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น ถ้ามี แล้ว
(๘) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น
(๙) ภาพอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นภาพ แผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(๑๐) รูปร่างหรือรูปทรงอันไม่เป็นลักษณะโดยธรรมชาติของสินค้านั้นเอง หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่จำเป็นต่อการทำงานทางเทคนิคของสินค้านั้น หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่ทำให้สินค้านั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
(๑๑) เสียงอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หรือเสียงที่ไม่เป็นเสียงโดยธรรมชาติของสินค้านั้น หรือเสียงที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานของสินค้านั้น
เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะตามวรรคสอง (๑) ถึง (๑๑) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ
มาตรา ๑๖ ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนรายใดทั้งเครื่องหมายหรือส่วนหนึ่งส่วนใดอันเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้านั้น ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา ๖ ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้น และมีหนังสือแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุ ทุผลให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบโดยไม่ชักช้า
อธิบายตามหลักกฎหมายได้ดังนี้
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเครื่องหมายการค้าจะไม่ผ่านเพราะติดมาตรา ๗ (๒) (๙)
มาตรา ๗ (๒) คำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และ ไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
1.เครื่องหมายติดบ่งเฉพาะ (ไม่มีเอกลักษณ์ที่พิเศษ)
1.1 ชื่อที่สื่อถึงสินค้า เช่น Apple จดทะเบียนใช้กับ ผลไม้แอปเปิ้ล หรือ ร้านขายแอปเปิ้ลจะ จดทะเบียนไม่ผ่านเนื่องจากสื่อถึงสินค้า การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า Apple กฎหมายจะไม่ให้จดทะเบียน หากจดทะเบียนใช้กับ โทรศัพท์ แบบนี้สามารถจดทะเบียนได้เนื่องจากไม่ถือเป็นการผูกขาด
1.2 ชื่อที่สื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า เช่น ละอองเย็น/laong yen จดทะเบียนใช้กับ สเปร์ยฉีดตัว จะจดทะเบียนไม่ผ่านเนื่องจากสื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า ละอองเย็น/laong yen กฎหมายจะไม่ให้จดทะเบียน หากจดทะเบียนใช้กับ โทรศัพท์ แบบนี้สามารถจดทะเบียนได้เนื่องจากไม่ถือเป็นการผูกขาด
ชื่อเครื่องหมายตาม 1.1, 1.2 ก็อาจจะเป็นคำที่พ้องเสียงได้ด้วย เช่น SHA TAI สื่อถึง ชาไทย การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า ชาไทย ผู้ตรวจสอบสามารถมีคำสั่งออกมาไม่ให้จดทะเบียนได้
ชื่อเครื่องหมายตาม 1.1, 1.2 หากมีการผสมคำ แต่คำที่นำมาผสมไม่ใช่สาระสำคัญ เช่น Apple Thai, Super Apple, The Apple, Apple Plus, Apple Restaurant, คำที่นำมาผสมจะไม่ถูกนำเป็นสาระสำคัญในการตรวจสอบ เนื่องจากเป็นคำทั่วไป และ มาเสริมคำว่า Apple ให้โดดเด่นขึ้นไปอีก ดังนั้นจะเหลือแต่คำว่า Apple ที่เป็นสาระสำคัญการจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า Apple
(เว้นแต่ชื่อ/ข้อความตาม 1.1-1.2 ต้องมีคำ หรือ ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบ เช่น ข้อความตาม 1.1-1.2 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิข้อความตาม 1.1-1.2) หรือ เช่น ข้อความตาม 1.1-1.2 + ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญ หากภาพโลโก้ไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิข้อความตาม 1.1-1.2)
(๙) ภาพอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นภาพ แผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
เครื่องหมายการค้าที่นำภาพที่เป็นเลขาคณิตทั่วไป/หรือภาพเสมือนจริง มาจดทะเบียนใช้กับสินค้าประเภทนั้น และ ภาพนั้นไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
1 ภาพรวงข้าวเสมือนจริง ใช้กับ ข้าว จดทะเบียนไม่ผ่าน
2 ภาพรถยนต์เสมือนจริง ใช้กับอะไหล่ น้ำยาขัดรถยนต์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3 ภาพผลไม้เสมือนจริง ใช้กับน้ำผลไม้ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
4 ภาพสัตว์เสมือนจริง ใช้กับ น้ำยาสระขนสัตว์ อาหารสัตว์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
5 ภาพโทรศัพท์เสมือนจริง ใช้กับ โทรศัพท์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
6 ภาพกุ๊กเสมือนจริง ใช้กับ อาหาร ร้านอาหาร เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
รูปหัวใจเลขาคณิต ใช้กับยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
เป็นต้น