โลโก้ที่ต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือจดลิขสิทธิ์
บทความนี้เราจะมาแชร์เกี่ยวกับเรื่องการจดลิขสิทธิ์โลโก้ เนื่องจากมีหลายคนสงสัยว่าเมื่อเปิดบริษัทและมีโลโก้ประจำบริษัทหรือแบรนด์สินค้าแล้วจำเป็นต้องจดเครื่องหมายการค้าหรือไม่ มาหาคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญของ TGC Thailand กัน
โลโก้ หรือจะเรียกเครื่องหมายการค้าก็ไม่ต่างกัน ถือเป็นสิ่งที่จะช่วยบ่งบอกความแตกต่างระหว่างแบรนด์ของคุณกับคู่แข่งได้เป็นอย่างดี เมื่อลูกค้าคุ้นชินเพียงแค่เจอภาพโลโก้นั้น ๆ ติดอยู่ที่ไหนก็มักนึกถึงสินค้าหรือบริการของธุรกิจเป็นลำดับแรก ไม่ใช่แค่การสร้างภาพจำเท่านั้นแต่ยังหมายถึงชื่อเสียงและโอกาสในการเพิ่มผลกำไรด้วย
อย่างไรก็ตามหลายคนมักเห็นการลอกเลียนแบบโลโก้ที่มีความคล้ายคลึงเกิดขึ้นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของคำถามว่า การจดลิขสิทธิ์ในส่วนของโลโก้ช่วยป้องกันในเรื่องดังกล่าวได้หรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่าการจดลิขสิทธิ์โลโก้จะช่วยได้ในด้านกฎหมายอยู่แล้ว แต่ว่าโลโก้แต่ละประเภทก็มีแนวทางในการจดที่แตกต่างกัน
3 ประเภทของโลโก้ที่ต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือจดลิขสิทธิ์โลโก้
1) โลโก้บริษัท ที่ไม่มีของขาย มีแต่บริการ
เช่น ซ่อมรถ เปลี่ยนยาง ตัดผม แม่บ้าน รักษาความปลอดภัย โลโก้บริษัท แบบนี้ต้องจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าหรือลิขสิทธิ์โลโก้ เพราะเราใช้อย่างเครื่องหมายการค้า
2) โลโก้บริษัท ที่มีของขายและใช้ชื่อตรงกัน
เช่น pepsi ชื่อบริษัทกับชื่อสินค้าตรงกัน แบบนี้ต้องจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า เพราะเราใช้อย่างเครื่องหมายการค้า
3) โลโก้บริษัท ที่มีของขายและใช้ชื่อไม่ตรงกัน
เช่น ยูนิลิเวอร์ (โลโก้บริษัท) บรีส ซันซิล (โลโก้สินค้า) แบบนี้โลโก้บริษัท ยูนิลิเวอร์ ไม่จำเป็นต้องจดก็ได้เพราะเราไม่ได้ใช้อย่างเครื่องหมายการค้า แต่แนะนำให้ยื่นจดทะเบียนไว้เพื่อป้องกันคนอื่นนำคำว่า ยูนิลิเวอร์ ไปใช้เป็นยี่ห้อสินค้า เช่น สบู่ยี่ห้อยูนิลิเวอร์ เป็นต้น
การจดลิขสิทธิ์โลโก้ช่วยป้องกันการโดนลอกเลียนแบบได้หรือไม่
ต้องขออธิบายให้เข้าใจก่อนว่า โลโก้ หรือ เครื่องหมายการค้า (Trademark) หากมีการจดลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย แต่การจะจดให้ผ่านก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดด้วย เช่น มีความบ่งชี้เฉพาะตัว ไม่มีสิ่งผิดกฎหมายอยู่บนโลโก้นั้น ๆ รวมถึงต้องไม่ซ้ำ ใกล้เคียง หรือก็อปปี้กับโลโก้ที่เคยมีการจดทะเบียนไว้ก่อนหน้า
นั่นจึงสรุปได้ชัดเจนว่า การจดลิขสิทธิ์โลโก้จะช่วยป้องกันการโดนลอกเลียนแบบได้จริง เสมือนเป็นลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งที่กฎหมายต้องให้ความคุ้มครองต่อแนวคิด การลงมือทำ และการปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายอย่างถูกต้อง
อธิบายแบบเข้าใจง่ายมากขึ้นคือ เมื่อใดก็ตามที่คุณคิดออกแบบโลโก้ ทำได้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กฎหมายระบุทั้งหมด ก็เท่ากับธุรกิจจะมีสิทธิ์ควบคุม ดูแลการใช้งาน Trademark ดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว คนอื่นจะไม่สามารถนำไปดัดแปลง ก็อปปี้ใด ๆ ได้อีก ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าของโลโก้เท่านั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ การจดทะเบียนโลโก้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจต้องรีบดำเนินการหากคิดค้นออกมาได้สำเร็จ เพราะต่อให้คุณคิดแต่ไม่มีการจดทะเบียนใด ๆ ปรากฏคู่แข่งเอาไปใช้งานแทนก็กลายเป็นคุณเองที่อาจทำผิดกฎหมายหากนำโลโก้ดังกล่าวไปใช้
เอกสาร 13 ชุด ประกอบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอย่างละเอียด
- หากผู้ขอจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา สามารถเตรียมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา 1 ชุด
- หากผู้ขอจดทะเบียนเป็นบุคคลสัญชาติต่างประเทศ ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง พร้อมเอกสารสำเนา 1 ชุด
- หากผู้ขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ให้นำหนังสือรับรองนิติบุคคล (ไม่เกิน 6 เดือน) พร้อมฉบับจริง 1 ชุด
- หากมีการมอบอำนาจ ให้นำบัตรประจำตัวของตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด ติดอากรแสตมป์ 30
- เอกสารขอจดทะเบียน โดยต้องติดภาพเครื่องหมายการค้าหรือโลโก้ที่ต้องการจด ขนาด 5 ซม. x 5 ซม.
- เอกสารบรรยายลักษณะของสีบนโลโก้ เพื่อรับความคุ้มครองในด้านการใช้สี ซึ่งต้องอธิบายให้ละเอียด เช่น มีสีอะไรบ้าง มีการจัดวางแบบไหน
- เอกสารบรรยายรูปร่างของเครื่องหมายการค้า
- หากโลโก้ที่ขอเป็นลายมือชื่อ ให้มีหนังสือยินยอมของเจ้าของลายมือนั้นด้วย
- หากโลโก้ที่ขอเป็นภาพพบุคคล ให้มีหนังสือยินยอมของเจ้าของภาพด้วย แต่หากบุคคลนั้นเสียชีวิตแล้ว ให้ขอความยินยอมจากบุพการี คู่สมรส หรือลูก
- หากโลโก้ที่ขอเป็นภาพบุคคล เตรียมบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของเจ้าของภาพ
- หากเป็นเครื่องหมายรับรอง ให้มีข้อบังคับในการใช้เครื่องหมายรับรองนั้นๆ
- หากเป็นการจดทะเบียนเครื่องหมายร่วม ต้องเตรียมบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิใช้ และเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายร่วม
- แบบ ก.10 ซึ่งจะเป็นคำขอถือสิทธิพร้อมหลักฐานประกอบคำขอถือสิทธิ
ซึ่งหากใครไม่สะดวกในการดำเนินการจดทะเบียนด้วยตัวเอง ที่ TGC Thailand เรามีบริการรับจดเครื่องหมายการค้า สามารถติดต่อสอบถามได้ตลอด
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือลิขสิทธิ์โลโก้
ค่าธรรมเนียมรายการสินค้าสำหรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย
- A: แบบไม่เกิน 5 รายการ (ต่อ 1 จำพวก ถ้าข้ามจำพวกเริ่มคำนวณใหม่)
- รายการที่ 1 ยื่นจดทะเบียนชำระ 1,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 600 บาท
- รายการที่ 2 ยื่นจดทะเบียนชำระ 1,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 600 บาท
- รายการที่ 3 ยื่นจดทะเบียนชำระ 1,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 600 บาท
- รายการที่ 4 ยื่นจดทะเบียนชำระ 1,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 600 บาท
- รายการที่ 5 ยื่นจดทะเบียนชำระ 1,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 600 บาท
- รวม 5 รายการ ยื่นจดทะเบียนชำระ 5,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 3,000 บาท
- B. แบบเกิน 5 รายการขึ้นไปไม่จำกัด (ไม่ควรเกิน 30-100 รายการ เพราะหากมากเกินไปนายทะเบียนจะสั่งให้ชี้แจงว่ามีสินค้าครบตามนั้นจริงหรือไม่) (ต่อ 1 จำพวก ถ้าข้ามจำพวกเริ่มคำนวณใหม่)
- ยื่นจดทะเบียนชำระ 9,000 บาท
- อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 5,400 บาท
- รวม 14,400 บาท
สอบถามข้อมูลหรือขอคำปรึกษาด้านการจดเครื่องหมายการค้า
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://tgcthailand.com/blog/fee-domestic-trademark/
แนวทางการออกแบบโลโก้ที่ดี
ถึงตรงนี้น่าจะได้คำตอบกันแล้วว่าการจดลิขสิทธิ์โลโก้สำคัญหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อตัดสินใจว่าจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือโลโก้ ต้องมั่นใจก่อนว่าโลโก้นั้นเป็นโลโก้ที่พร้อมสำหรับใช้งาน และออกมาแบบดีแล้ว เนื่องจากการจดเปลี่ยนบ่อยๆ จะส่งผลให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูไม่ดี อีกทั้งจะส่งผลเสียต่อการทำการตลาดอีกด้วย
สังเกตได้ว่าหลายๆ ธุรกิจพยายามสร้างโลโก้ของตนเองออกมาเพื่อหวังกลายเป็นภาพจำของผู้บริโภคทุกคน ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ก็ตาม ซึ่งโลโก้เหล่านี้สามารถออกแบบได้อย่างหลากหลายทั้งการใช้ภาพถ่าย ภาพวาด ตัวอักษร ตัวเลข สีสัน ลายมือชื่อ ฯลฯ
ยิ่งมีจุดเด่นหรือลูกเล่นสะดุดตา น่าสนใจ อาทิ สีมีความแตกต่าง อ่านแล้วเข้าใจง่าย ใช้ลวดลายที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้พร้อมช่วยสร้างการเติบโตและการจดจำได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
โลโก้ควรที่จะสะท้อนถึงตัวตนบริษัท หรือสินค้า เช่น หากสินค้าที่มีจุดเด่นเรื่องความแข็งแรงก็ควรออกแบบโลโก้ที่บ่งบอกถึงความทนทาน แข็งแรง และมั่นคง หรือหากเป็นสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็อาจเลือกใช้ภาพหรือลายเส้นที่ดูสบายตา และเลือกใช้สีที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เช่น สีเขียว สีน้ำตาล สีฟ้า เป็นต้น