การจดสิทธิบัตรอาหารและการเปิดเผยสูตรลับ

การจดสิทธิบัตรอาหารและการเปิดเผยสูตรลับ

วิธีการตัดสินใจว่าจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียน

1.ถ้าทานแล้ว (รู้) ว่าใส่อะไรบ้าง หรือ โฆษณาให้รู้ว่าใส่อะไรบ้าง แบบนี้ต้องยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตร

2.ถ้าทานแล้ว (ไม่รู้) ว่าใส่อะไรบ้าง หรือ ไม่ได้โฆษณาให้รู้ว่าใส่อะไรบ้าง แบบนี้เป็นสูตรลับการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรถือว่าต้องเปิดเผยความลับ (ไม่แนะนำให้ยื่นจดทะเบียน)

 

 

สิทธิบัตรอาหาร อยากจดต้องทำอย่างไร? หลายท่านยังสงสัยว่าอาหารยื่นจดสิทธิบัตรได้ด้วยหรอ

คำตอบคือ สูตรอาหาร สามารถจดสิทธิบัตรได้ และ ถ้าจะจดสูตรอาหาร เพื่อคุ้มครองสูตรอาหาร ต้องทำอย่างไร? วันนี้จะมาอธิบายให้ฟัง

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ สิทธิบัตรอาหาร
สิทธิบัตรอาหารคุ้มครองสองส่วน คือ ส่วนประกอบที่ผสมอะไรบ้าง และ สัดส่วนที่ใส่ปริมาณเท่าไหร่ ไม่ใช่ว่าคุ้มครองชนิดอาหารนั้น ดังนั้นจะต้องมีการเปิดเผย ส่วนประกอบ+ สัดส่วน + กรรมวิธี ที่พิเศษและแตกต่างจากเดิม และความคุ้มครองก็จะให้ความคุ้มครองแค่ส่วนประกอบในช่วงที่เปิดเผยในสิทธิบัตรเท่านั้น

หลักการประเมินความใหม่ของสูตรอาหาร
สิทธิบัตรต้องการความใหม่ และ มีขั้นประดิษฐ์ ดังนั้น ส่วนประกอบ สัดส่วน กรรมวิธี จะต้องมีการสร้างส่วนประกอบใหม่ที่มีผลแตกต่างจากเดิม เช่น ลอดช่องทุเรียน หรือ มีกรรมวิธีใหม่ๆ เช่น การให้แมลงกินอาหารชนิดพิเศษจนได้รสชาติแมลงทอดแบบใหม่

ความแตกต่างหลักที่สำคัญ ที่จะทำให้มีความใหม่ในการจดคุ้มครองสูตรอาหาร ก็คือ “เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของอาหารนั้นและมีผลเชิงเทคนิคทางอาหาร”

1. ส่วนประกอบต่างกันและมีผลเชิงเทคนิคทางอาหาร เช่น ผัดกะเพราของคนอื่นใส่ถั่วฝักยาว ของเราใส่ข้าวโพดอ่อน ซึ่งถ้าไม่เคยมีคนใส่ข้าวโพดอ่อนมาก่อน  ไม่ถือว่ามีความใหม่เพราะเป็นเพียงงานคหกรรมอาหาร ไม่มีผลเชิงเทคนิคทางอาหาร ความใหม่ต้องมีผลเชิงเทคนิคทางอาหาร และ เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของอาหารนั้น เช่น ลอดช่องที่ผสมเนื้อทุเรียนถือว่ามีผลเชิงเทคนิคทางอาหาร หรือ ข้าวเหนียวทุเรียนผสมกันและนำไปอบแห้งถือว่าผลเชิงเทคนิคทางอาหาร

2. สัดส่วนต่างกันและมีผลเชิงเทคนิคทางอาหาร โดยปกติส่วนประกอบที่เหมือนกันและแตกต่างกันเพียงสัดส่วนถือว่าไม่มีความใหม่ เช่น ผัดกะเพราของคนอื่นใส่น้ำตาล 1 กรัม ของเราใส่ 5 กรัม ไม่ถือว่ามีความใหม่เพราะเป็นเพียงปริมาณมากน้อย ไม่มีผลเชิงเทคนิคทางอาหาร ความใหม่ต้องมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันเป็นหลัก สัดส่วนเป็นเพียงตัวรองลงมาเท่านั้น และต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของอาหารนั้น

3. สภาวะต่างกัน และมีผลเชิงเทคนิคทางอาหาร เช่น ผัดกะเพราของคนอื่นผัดที่อุณหภูมิ 80 องศา ของเราผัดที่อุณหภูมิ 90 องศา เป็นเพียงปริมาณมากน้อยของอุณหภูมิ ไม่มีผลเชิงเทคนิคทางอาหาร ความใหม่ต้องมีเทคนิคที่พิเศษ เช่น ผ่านการอบในสภาวะสุญญากาศและในระหว่างการอบมีการลดอุณหภูมิลงมาอย่างฉับพลันจาก 90 องศาจนถึง 20 องศาในเวลา 5 นาทีเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของอาหารนั้น

4. กระบวนการต่างกัน และมีผลเชิงเทคนิคทางอาหาร เช่น ผัดกะเพราคนอื่นอุ่นกระทะให้ร้อนก่อนใส่วัตถุดิบลงไปคลุกกัน ของเรานำวัตถุดิบไปคลุกกับเครื่องปรุงผ่อนนำไปผัด เป็นเพียงลำดับขั้นตอนของงานคหกรรมอาหาร ไม่มีผลเชิงเทคนิคทางอาหาร ความใหม่ต้องมีเทคนิคที่พิเศษ เช่น มีการนำไปแช่ในสารเคมีตัวที่ 1 และ นำไปแช่ตู้เย็น 1 วัน นำออกมาบดให้ละเอียด และ นำไปแช่สารเคมีตัวที่ 2 และ นำไปแช่ตู้เย็น 1 วัน เป็นต้น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของอาหารนั้น

ทั้งหมดเหล่านี้ ถือเป็นรายละเอียดที่ต้องเปิดเผยใน สิทธิบัตรอาหาร ซึ่งหากอาหารของเรามีสูตรใหม่ที่แตกต่างและเกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของอาหารนั้น สามารถนำมายื่นจดสิทธิบัตรได้

การคุ้มครองสูตรอาหาร ด้วยสิทธิบัตร เป็นสิ่งจำเป็นไหม?
การจดสูตรอาหาร ต้องแลกมากับการเปิดเผยงานประดิษฐ์ และ สูตรของเรา ดังนั้นหากเป็นเรื่องสูตรลับก็ไม่แนะนำให้ยื่นจดสิทธิบัตร

อีกประการคือ สูตรอาหารของเรานั้นสามารถลอกเลียนแบบได้ง่ายหรือไม่? หากลอกง่ายก็แนะนำให้ยื่นจดสิทธิบัตร หากลอกยากไม่แนะนำให้ยื่นจดสิทธิบัตร

แน่นอนการทำอาหารเราทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องเปิดเผยสูตรอาหารและเทคนิคนั้นให้กับพ่อครัว ดังนั้นหากเป็นสูตรลับ แนะนำให้การคุ้มครองสูตรอาหารในฐานะ ความลับทางการค้า ซึ่งต้องมีองค์ประกอบดังนี้
ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545

1.ต้องใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับ

2.ต้องเป็นข้อมูลการค้า ไม่ใช้ข้อมูลอย่างอื่น

3.ต้องอาศัยข้อมูลเพื่อใช้ในการแข่งขันทางธุรกิจการค้า

4.ต้องมีข้อตกลงในสัญญาห้ามเปิดเผย

5.ต้องเปิดเผยข้อมูลให้เป็นที่ล่วงรู้แก่บุคคลอื่นโดยทั่วไป ไม่รวมถึงการนำความลับทางการค้าไปใช้เองเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจการค้าของตนเอง

6.ไม่รวมกรณีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องไปเปิดเผย

เช่น สูตรน้ำอัดลม สูตรทำไก่ทอด ซึ่งการคุ้มครองความลับทางการค้าของสูตรอาหารนั้น จะมีอายุไม่จำกัด ตราบเท่าที่สูตรนั้นยังคงเป็นความลับอยู่

ตัวอย่างคดีฟ้องร้องสิทธิบัตรอาหาร

 

Impossible Foods ฟ้องสตาร์ทอัพ Motif Foodworks เรื่องสิทธิบัตรเบอร์เกอร์ไร้เนื้อ ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตร โดยอ้างว่าทางเลือกใหม่ของสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยี heme ที่เลียนแบบเวอร์ชั่นของตัวเองมากเกินไป

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อวัวและเนื้อหมูของ Impossible ใช้ถั่วเหลือง เลฮีโมโกลบิน ซึ่งผลิตจากยีสต์ดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อเลียนแบบรสชาติและกลิ่นหอมของเนื้อจริง ร่วมกับบียอนด์มีท

ในการร้องเรียนที่ยื่นต่อศาลรัฐบาลกลางในเดลาแวร์ Impossible กล่าวหาว่า Hemami ของ Motif ละเมิดสิทธิบัตรสำหรับเนื้อวัวจำลองที่ใช้ heme เป็นส่วนผสม รุ่นของ Motif ใช้ myoglobin จากวัวเป็นแหล่ง heme และทำตามขั้นตอนที่คล้ายคลึงกันเพื่อสร้างส่วนผสมซึ่งสามารถนำไปใช้ในอาหารทดแทนเนื้อวัวได้ ตามเอกสารที่ยื่นต่อศาล

จากข้อมูลของ Impossible สิทธิบัตรของบริษัทครอบคลุมถึงการประดิษฐ์สิ่งทดแทนเนื้อวัวที่ใช้กล้ามเนื้อจำลอง ซึ่งรวมถึงโปรตีนที่มีฮีม สารประกอบน้ำตาลอย่างน้อยหนึ่งชนิด และสารประกอบกำมะถันหนึ่งชนิด นอกจากนี้ยังป้องกันการคิดค้นเนื้อสัตว์ทางเลือกที่เลียนแบบเนื้อสัตว์ผ่านแบบจำลองเนื้อเยื่อไขมันที่ใช้น้ำมันจากพืชอย่างน้อยหนึ่งชนิดและโปรตีนจากพืชที่แปลงสภาพ

สรุป

สิทธิบัตรสูตรอาหาร เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบทุกด้าน เพราะต้องแลกมาด้วยการเปิดเผยความลับ ซึ่งอาจจะทำให้คนอื่นสามารถล่วงรู้สูตรของได้ ดังนั้นต้องคำนึงถึงผลกระทบทางธุรกิจ และขอบเขตการเปิดเผยด้วย

ทั้งนี้หากใครมีความสงสัยเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ หรือต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ ทั้งทางช่องทางไลน์และโทรศัพท์กับเรา TGC Thailand ได้ ซึ่งเป็นช่องทางที่ทั้งง่ายและสะดวก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอดไลน์