ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง ด้วยตนเอง ข้อมูลล่าสุดปี 2023

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง ด้วยตนเอง ข้อมูลล่าสุดปี 2023

มีขั้นตอนโดยสังเขป ดังนี้

1.การตรวจค้น ก่อนยื่นคำขอจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนควรตรวจค้นเครื่องหมายของตนที่ประสงค์จะยื่นขอจดทะเบียนว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วหรืออยู่ระหว่างขอจดทะเบียนหรือไม่ โดยตรวจค้นด้วยตนเองได้ เว็บไซต์

https://search.ipthailand.go.th/index2?q=JTdCJTIydHlwZSUyMiUzQSUyMmFkX3NlYXJjaCUyMiUyQyUyMmluJTIyJTNBMSUyQyUyMmluZGV4JTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8zX3RtJTJDJTIyJTJDJTIyb2JqZWN0JTIyJTNBJTVCJTdCJTIyb3B0aW9uJTIyJTNBJTIyYW5kJTIyJTJDJTIyZGF0YV9vYmolMjIlM0ElNUIlN0IlMjJpbmRleCUyMiUzQSUyMmRpcF9zZWFyY2hfM190bSUyMiUyQyUyMmluZGV4X2NyZWF0ZSUyMiUzQSUyMmRpcF9zZWFyY2hfM190bSUyMiUyQyUyMmZpZWxkJTIyJTNBJTIyRElQX1RSX1dPUkRfVF9TJTIyJTJDJTIyZmllbGRfbmFtZSUyMiUzQSUyMiVFMCVCOCU4QSVFMCVCOCVCNyVFMCVCOSU4OCVFMCVCOCVBRCVFMCVCOSU4MCVFMCVCOCU4NCVFMCVCOCVBMyVFMCVCOCVCNyVFMCVCOSU4OCVFMCVCOCVBRCVFMCVCOCU4NyVFMCVCOCVBQiVFMCVCOCVBMSVFMCVCOCVCMiVFMCVCOCVBMiUyMiUyQyUyMnR5cGUlMjIlM0ElMjJ3aWxkY2FyZCUyMiUyQyUyMmtleSUyMiUzQSUyMm13ZSUyMCUyMiUyQyUyMmlmJTIyJTNBJTIybnVsbCUyMiUyQyUyMmNoZWNrX3Rva2VuJTIyJTNBJTIyYWxsJTIyJTdEJTVEJTdEJTVEJTJDJTIyb3JkZXIlMjIlM0ElMjJfc2NvcmUlMkNkZXNjJTIyJTJDJTIyc3RhdHVzJTIyJTNBdHJ1ZSU3RA%3D%3D

ได้ฟรี อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำขอจดทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่ของสำนักเครื่องหมายการค้าจะดำเนินการตรวจสอบเครื่องหมายและพิจารณาคำขอจดทะเบียนโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

เครื่องหมายการค้าที่ไม่สามารถจดทะเบียนได้ https://tgcthailand.com/service/%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b2/

5 เคล็ดลับตั้งชื่อเครื่องหมายการค้าใหม่ให้ปัง! รับทรัพย์ปี 2566 (ตั้งชื่อแบรนด์) https://tgcthailand.com/5-tips-to-make-a-brand-new-name-great-get-wealth-in-2021-name-the-brand/

2.การยื่นคำขอจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองและเครื่องหมายร่วม โดยใช้แบบ ก. 01 และแนบหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียน พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมสินค้าหรือบริการ อย่างละ 1000 บาท ณ กลุ่มบริการตรวจรับคำขอ ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือ โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือทางอินเตอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ www.ipthailand.go.th

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย https://tgcthailand.com/the-trademark-registration-fee/

3.การตรวจสอบเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ตรวจรับคำขอจะดำเนินการตรวจสอบคำขอจดทะเบียน หลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนและค่าธรรมเนียมว่า ถูกต้อง ครบถ้วน หรือไม่ เพื่อให้เลขคำขอจดทะเบียนต่อไป

เอกสาร
1.หนังสือมอบอำนาจ
2.รับรองสำเนาบัตร ประชาชน (กรณีบุคคลธรรมดา)
3.รับรองสำเนาหนังสือรับรองบริษัท (กรณีบริษัท) บัตรกรรมการไม่ใช้

4.การตรวจสอบเครื่องหมายการค้า เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและนายทะเบียนจะดำเนินการตรวจสอบโดยละเอียดว่า เครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนนั้น เป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ โดยใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน

(ระบบ fast track) ศึกษาเพิ่มเติม  https://tgcthailand.com/quick-trademark-registration-fast-track-the-new-regulation-of-the-department-of-intellectual-property-within-6-months/

การตรวจสอบเครื่องหมายการค้า จะมีคำสั่งออกมาดังนี้

4.1 เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่  ศึกษาเพิ่มเติม https://tgcthailand.com/trademarks-must-only-be-identifiable-to-be-registered/

4.2 เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ ศึกษาเพิ่มเติม https://tgcthailand.com/trademarks-that-are-prohibited-by-law-and-cannot-be-registered-are-as-follows/

4.3 เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่ เมื่อได้ตรวจสอบแล้ว นายทะเบียนจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ สำหรับผลการพิจารณาของนายทะเบียนนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 4 กรณี ดังนี้

4.3.1 รับจดทะเบียน : นายทะเบียนจะสั่งประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในหนังสือประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านการจดทะเบียน ทั้งนี้ จะต้องคัดค้านภายใน 60 วันนับแต่วันประกาศโฆษณา

4.3.2 ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียน : นายทะเบียนจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบคำสั่งไม่รับจดทะเบียน อย่างไรก็ตาม ผู้ขอจดทะเบียนสามารถอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ด้วยเหตุ

-ขัดต่อกฎหมาย

-ติดเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น

ดังนี้

มาตรา 6 เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
(2) เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ และ
(3) ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียน ไว้แล้ว

4.3.3 ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง : นายทะเบียนจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กาหนด อย่างไรก็ตาม ผู้ขอจดทะเบียนสามารถอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ศึกษาเพิ่มเติม  https://tgcthailand.com/what-is-the-status-of-a-trademark-application-the-word-is-against-the-law-or-to-take-action-to-correct-the-defect/

4.3.4 ให้ตกลงกัน : นายทะเบียนจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทุกรายที่ยื่นขอจดทะเบียนและเป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกัน ตกลงกันเองว่าจะให้ผู้ขอจดทะเบียนรายใดเป็นผู้ขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแต่ผู้เดียว โดยให้ตกลงกันภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ทั้งนี้ หากตกลงกันไม่ได้หรือไม่ได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในระยะเวลาที่กำหนด นายทะเบียนจะสั่งประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เป็นรายแรก

ตามมาตรา 27 https://www.ipat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=148:-2534-1-&catid=15:t1&Itemid=12

4.3.5 การประกาศโฆษณา หากนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้น สามารถที่จะรับจดทะเบียนได้ นายทะเบียนจะสั่งประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในหนังสือประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียน ทั้งนี้ การประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนจดทะเบียนมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่ไม่เห็นด้วยหรืออาจเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของนายทะเบียนได้ยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียน ทั้งนี้ ต้องคัดค้านภายใน 60 วันนับแต่วันประกาศโฆษณาดังกล่าว สำหรับผลที่จะเกิดขึ้นจากการประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น

อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้

  1. ไม่มีบุคคลใดยื่นคำคัดค้าน : นายทะเบียนจะมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นต่อไป โดยจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบคำสั่งดังกล่าวและให้ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง อย่างไรก็ตาม หากผู้ขอจดทะเบียนไม่ชาระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กาหนด ให้ถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียน ซึ่งจะมีผลทำให้คำขอดังกล่าวถูกจำหน่ายออกจากสารบบจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  2. มีบุคคลยื่นคำคัดค้าน : นายทะเบียนจะพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้านต่อไป ตามมาตรา 35 https://www.ipat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=150:-2534-1-1&catid=15:t1&Itemid=12

6.การคัดค้าน สำหรับเหตุแห่งการคัดค้านนั้น กฎหมายได้กาหนดไว้ 3 กรณี ดังนี้ ตามมาตรา 35 https://www.ipat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=150:-2534-1-1&catid=15:t1&Itemid=12

6.1 ผู้คัดค้านเห็นว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ขอจดทะเบียน
6.2 ผู้คัดค้านเห็นว่าเครื่องหมายการค้ารายนั้นไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้
6.3 ผู้คัดค้านเห็นว่าการขอจดทะเบียนรายนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การรับจดทะเบียนโดยไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้คัดค้านจะต้องยื่นคำคัดค้านภายใน 60 วันนับแต่วันประกาศโฆษณา โดยใช้แบบ ก. 02 และแนบหลักฐานประกอบคำคัดค้าน พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม 2,000 บาท และเมื่อมีการคัดค้านเกิดขึ้น นายทะเบียนจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบเพื่อยื่นคำโต้แย้งคำคัดค้าน (แบบ ก. 02) โดยต้องดำเนินการภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง มิฉะนั้น จะถือว่าผู้ขอจดทะเบียนละทิ้งคำขอจดทะเบียน ซึ่งมีผลทำให้คำขอจดทะเบียนดังกล่าวถูกจำหน่ายออกจากสำรบบจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ส่วนผลการพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้านของนายทะเบียน แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้

6.3.1 ยกคำคัดค้านและดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อไป หรือ
6.3.2 ระงับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ขอจดทะเบียนและผู้คัดค้านสามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง โดยใช้แบบ ก. 03 นอกจากนั้นเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนและผู้คัดค้านสามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อศาลได้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง

ตามมาตรา 37 และ มาตรา 38 https://www.ipat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=150:-2534-1-1&catid=15:t1&Itemid=12

7. การรับจดทะเบียน เมื่อคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายใดได้ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่และการพิจารณาสั่งการของนายทะเบียนแล้วว่า เป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ จะเข้าสู่ขั้นตอนการประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียน หากไม่มีบุคคลใดยื่นคำคัดค้าน หรือมีการยื่นคำคัดค้าน แต่ได้มีคำวินิจฉัย (ของนายทะเบียนหรือของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า) หรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลถึงที่สุดให้เป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้แล้ว นายทะเบียนจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนชำระค่าธรรมเนียมรับจดทะเบียนภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง โดยให้ชำระค่าธรรมเนียมสินค้าหรือบริการ อย่างละ 600 บาท ณ กลุ่มบริการตรวจรับคำขอ ชั้น 3 สำนักเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือทางอินเตอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ www.ipthailand.go.th มิฉะนั้น จะถือว่าผู้ขอจดทะเบียนละทิ้งคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ภายหลังชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะจัดส่งให้ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในคำขอจดทะเบียนภายใน 3-4 สัปดาห์นับแต่วันที่ได้ชำระค่าธรรมเนียม หรือสามารถรอรับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนได้ ณ จุดบริการเร่งด่วน (One Stop Service) ชั้น 3 สำนักเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อจดทะเบียนแล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ รวมทั้งสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีและเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากบุคคลที่ละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วนั้นได้อีกด้วย

สิทธิในการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า มีอะไรได้บ้าง https://tgcthailand.com/trademark-ownership-rights-what-can-i-get/

เครื่องหมายการค้ามีอายุ 10 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนและต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี https://tgcthailand.com/trademark-how-many-years-of-protection-and-trademark-renewal/

 

แอดไลน์ ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง ด้วยตนเอง ข้อมูลล่าสุดปี 2023